ตะกร้า
0
0.00 THB

กรดไนตริก (Nitric acid) คืออะไร?

กรดไนตริก (Nitric acid) คืออะไร?

กรดไนตริก (Nitric acid) หรืออีกชื่อหนึ่ง กรดดินประสิว สารชนิดนี้จัดเป็นกรดแก่อนินทรีย์ คุณสมบัติเฉพาะของกรดไนตริก ลักษณะทางกายภาพมีสถานะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น สิ่งทอ สีย้อม สารทำความสะอาด ปุ๋ย สารเคมีทางการเกษตร วัตถุระเบิด ฯลฯ เป็นต้น 



 
กรดไนตริก เป็นกรดของไนโตรเจนออกไซด์ มีสูตรทางเคมี (Chemical Formula) คือ HNO3 ประกอบด้วยอะตอมไนโตรเจนที่จับกับกลุ่มไฮดรอกซี (OH-) และอะตอมของออกซิเจน (O) อีก 2 อะตอม สามารถสลายตัว และระเหยได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อทำปฏิกิริยากับโลหะจะทำให้เกิดไอระเหยของไฮโดรเจน และไนโตรเจนไดออกไซด์ ซึ่งมีลักษณะเป็นควันน้ำตาลสีแดง เมื่อละลายในน้ำ โมเลกุลจะแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน (H+) ทำให้สารละลายมีฤทธิ์เป็นกรด


ประโยชน์ของกรดไนตริก

กรดไนตริกมีจำหน่ายตามท้องตลาด มีระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกัน กรดไนตริกเข้มข้นสูงสุดที่ความเข้มข้น 70% โดยจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้



อุตสาหกรรม
    • ใช้เป็นสารตัวเร่งปฏิกิริยาตัวทำละลายโลหะ เช่น การใช้กรดไนตริกเป็นตัวทำละลายโลหะในเหมืองทองคำ หรือ ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
    • ใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ล้างจาน สบู่, สารชะล้าง, น้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นต้น รวมถึงใช้เป็นสารทำความสะอาดโดยตรง โดยเฉพาะการทำความสะอาดโลหะในภาคอุตสาหกรรม
    • ใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อช่วยต้านการเกิดโฟม ช่วยให้สารจับเป็นเนื้อเดียวกันและการกระจายตัวของส่วนผสม ช่วยให้เกิดฟองและช่วยปรับสภาพความหนืด เป็นต้น
    • ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และฟอกหนัง
    • ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสี และสารเคลือบ
    • ใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง
    • ใช้ในกระบวนการผลิตบุหรี่หรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่


การเกษตร

ใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์สำหรับป้องกัน และกำจัดเชื้อราในทางการเกษตร



ครัวเรือน

ใช้สำหรับการฆ่าเชื้อโดยตรง เช่น ทำความสะอาดโลหะหรือเครื่องเรือน ใช้ทำความสะอาดพืชผลทางการเกษตรเพื่อการฆ่าเชื้อโรคและป้องกันเชื้อรา ทั้งนี้ จะใช้ในลักษณะสารละลายที่เจือจาง และต้องล้างทำความสะอาดอีกครั้งด้วยน้ำสะอาด


ห้องปฏิบัติการ

ใช้กรดไนตริกสำหรับการเตรียมสารละลาย และการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของสารละลาย รวมถึงใช้ปรับความเป็นกรดของตัวอย่างคุณภาพน้ำ เพื่อช่วยป้องกันการตกตะกอนของโลหะหนักหรือการเกาะติดของโลหะหนักกับภาชนะ รวมถึงป้องกันการเติบโตของจุลินทรีย์



การแพทย์

การใช้กรดไนตริกสำหรับการรักษาหูด ใช้เป็นตัวทำละลายในทางเภสัชกรรม และใช้เป็นส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบรายงานการศึกษาที่ทดลองนำสารละลายของกรดไนตริก หรือที่เรียกว่า Solcoderm solution มารักษาเนื้องอกบริเวณผิวหนังชั้นนอก ซึ่งพบว่า ผลการรักษามีการตอบสนองต่อสารละลายกรดไนตริกได้เป็นอย่างดี



การทหาร

กรดไนตริกถูกใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตวัตถุระเบิด


ข้อควรระวัง! ความเป็นพิษของกรดไนตริก

แม้ว่ากรดไนตริกจะมีประโยชน์หลายอย่างมาก แต่ความเป็นกรดก็มีจุดที่ควรระวังมากเช่นกัน ซึ่งเราอาจเผลอไปสัมผัส สูดดม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย โดยไม่ทันได้ระมัดระวังตัว ซึ่งการกระทำเหล่านี้มันสามารถทำให้ถึงแก่ชีวิตได้เลย โดยอาการแต่ละการกระทำส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง


การสูดดม

    • หากสูดดมไอระเหยของกรดไนตริกเข้าไป ไอระเหยของกรดไนตริกจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจทันที อาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ แสบจมูก แสบลำคอ แสบ และแน่นหน้าอก
    • หากสูดดมไอระเหยของกรดไนตริกเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดหลอดลม และปอดอักเสบเรื้อรังได้


การสัมผัส

    • การสัมผัสกับผิวหนังจะทำให้เกิดการระคายเคือง เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน และผิวหนังอักเสบ และเป็นแผลได้
    • การสัมผัสกับตา หากความเข้มข้นน้อยจะทำให้เกิดการระคายเคือง มีอาการแสบตา แต่หากมีความเข้มข้นสูงอาจทำให้ดวงตาอักเสบ และถึงกับตาปอดได้


การนำเข้าสู่ร่างกาย (ด้วยวิธีการดื่ม)

การดื่มกรดไนตริกเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดการระคายเครื่องต่อเยื่อบุทางเดินอาหารอย่างรุนแรง โดยเฉพาะกรดไนตริกเข้มข้น โดยจะเกิดอาการปวดแสบปวดร้อนทั้งบริเวณช่องปาก ลำคอ และกระเพาะอาหาร อาจทำให้เยื่อบุทุกส่วนในระบบทางเดินอาหารเป็นแผล และทะลุ มีเลือดออก อาเจียนเป็นเลือด และเกิดอาการช๊อคได้
ดังนั้น เราควรตระหนักในเรื่องของวิธีการใช้งานที่ถูกต้องในปริมาณที่เหมาะสมและวิธีการใช้งานกรดไนตริก และควรระมัดระวังการใช้งานให้ถูกต้อง



การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • กรณีกรดไนตริกเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากทันที ดึงเปลือกตาบนและล่างเป็นระยะๆ หากยังมีอาการระคายเคือง หลังจากล้างน้ำสะอาดแล้ว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที และไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ขณะทำงานกับสารเคมี
    • ถ้ากรดไนตริก หรือไอเข้มข้นของกรดไนตริกสัมผัสกับผิวหนัง ให้รีบล้างผิวหนังส่วนนั้นด้วยน้ำสะอาดทันที ถ้าผิวหนังส่วนนั้นมีเสื้อผ้าปกคลุม ให้รีบถอดเสื้อผ้าออกและล้างผิวหนังส่วนนั้นด้วยน้ำสะอาดและรีบไปพบแพทย์ทันที
    • กรณีที่หายใจเอากรดไนตริกเข้าไปในปริมาณมากๆ ให้รีบเคลื่อนย้ายผู้ที่ได้รับกรดไนตริกไปที่อากาศบริสุทธิ์ทันที
    • ถ้าพบว่ามีการหยุดหายใจ ให้รีบทำการช่วยหายใจ และพาเข้าไปพักผ่อน ทำให้ร่างกายอบอุ่น และรีบไปพบแพทย์ทันที
    • ในกรณีที่รับประทานกรดไนตริก ถ้าผู้ป่วยยังมีสติ ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำตามมากๆ ทันที เพื่อไปเจือจางกรดไนตริก อย่าพยายามทำให้ผู้ป่วยอาเจียน และรีบไปพบแพทย์ทันที


วิธีการจัดเก็บรักษากรดไนตริก
    • เก็บในภาชนะที่เป็นขวดแก้วชนิดสีชา (สนใจขวดแก้วสีชา >>> คลิกได้ที่นี่ <<< เลย)
    • แยกเก็บหรือเก็บให้ห่างสารประกอบเซลลูโลส น้ำ สารที่เป็นด่าง และโลหะต่างๆ เพราะมีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะ และวัสดุที่ทำจากเซลลูโลส หากสัมผัสกับวัสดุที่มีเซลลูโลสจะทำให้เกิดควันของสารจำพวกออกไซด์ที่เป็นพิษ และมีโอกาสลุกติดไฟได้เอง
    • เก็บในอาคาร ห่างจากแสงแดดส่องถึง และมีการระบายอากาศดี
    • เก็บให้ห่างจากแหล่งความร้อน และเปลวไฟเย็น หากภาชนะบรรจุได้รับความร้อนอาจทำให้เกิดการระเบิดได้
    • เก็บให้ห่างจากวัตถุระเบิด สารออกซิไดซ์ และสารที่ปล่อยรังสี
    • พื้นที่จัดเก็บควรมีป้ายกำกับ ป้ายเตือน ข้อห้าม และมีข้อมูลความปลอดภัยที่สามารถอ่านได้ และชัดเจน




     Product Highlight     





สนใจหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่

Tel : 064 296 6593

Line : https://lin.ee/M7mVBAf

Shopee : https://shopee.co.th/eos_scientific

e-Mail :eosscientificsshop.e@gmail.com


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
https://siamroommate.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81/

https://www.fda.moph.go.th/sites/Hazardous/KM_Paper/3.%20%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%84%20(Nitric%20acid).pdf
โพสต์เมื่อ :
2566-02-03
 619
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์