ตะกร้า
0
0.00 THB

รักษ์โลก ด้วยเคมีสีเขียว (Green Chemistry)

รักษ์โลก ด้วยเคมีสีเขียว (Green Chemistry)

รักษ์โลก ด้วยเคมีสีเขียว (Green Chemistry)




เคมีสีเขียว Green Chemistry หรืออีกชื่อเรียกคือ Sustainable Chemistry โดย Paul Anastas และ John Warner ได้ก่อตั้งแนวคิดนี้ในโครงการพิเศษที่จัดทำขึ้นโดยองค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกา (US Environmental Protection Agency; EPA) ในปีค.ศ. 1990 จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งหลักการนี้ เพื่อพัฒนากระบวนการและเทคโนโลยีทางเคมีให้มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอันเป็นแนวทางพัฒนาแบบยั่งยืน ลดและป้องกันการเกิดมลพิษตั้งแต่แหล่งผลิต ควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้นจากสารเคมี ในกระบวนการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม


ซึ่งในปัจจุบัน สารเคมีนั้นได้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์และใกล้ตัวเรามาก เพียงแค่เราอาจไม่ทันได้สังเกต แน่นอนว่าการผลิตโดยมีสารเคมีเป็นส่วนประกอบนั้นย่อมมีผลกระทบของสารเคมีที่ตามมา อาทิ ผลกระทบของสารเคมีที่อาจเกิดสารพิษทำลายสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรและพลังงานที่ไม่สามารถหมุนเวียนได้ รวมไปถึงต้นทุนกระบวนการผลิตที่ใช้สารเคมีจำนวนมาก ปัญหาเหล่านี้จึงเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังนั้น เราจึงนำแนวความคิดของ เคมีสีเขียว (Green Chemistry) มาใช้ในการจัดการสารเคมีเพื่อให้เกิดความคุ้มค่า ก่อเกิดประโยชน์สูงสุด และลดความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

เคมีสีเขียว มีหลักการพื้นฐาน 12 ข้อด้วยกัน




  1. Prevent waste คือ การป้องกันการเกิดของเสีย โดยการออกแบบกระบวนการการสังเคราะห์ที่    ไม่ก่อให้เกิดของเสียเพื่อจะได้ไม่ต้องมีการกำจัดในภายหลัง

  2. Renewable materials คือ การใช้สารหรือวัตถุดิบที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งรวมถึงการใช้วัสดุเหลือใช้ หรือทิ้งแล้วจากกระบวนการอื่นๆ

  3. Omit derivatization steps คือ หลีกเลี่ยงการสร้างสารอนุพันธ์การบล็อก การป้องกันและการถอน การป้องกันการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวของกระบวนการทางกายภาพและทางเคมีโดยไม่จำเป็น และการสังเคราะห์สารเคมีที่เป็นอันตรายน้อยกว่า

  4. Degradable chemical products คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางเคมีที่แน่ใจได้ว่าหลังจากการใช้งานแล้วจะไม่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม การออกแบบสารเคมีที่ปลอดภัย หรือจะสลายตัวไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นพิษ

  5. Use safe synthetic methods คือ การออกแบบวิธีสังเคราะห์ที่ใช้หรือสร้างสารเคมีที่มีความเป็นพิษต่ำ หรือไม่เป็นพิษต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเลยทุกครั้งที่สามารถทำได้ สร้างตัวทำละลายและสารช่วยที่ปลอดภัยกว่า

  6. Catalytic reagents คือ การออกแบบเพื่อการประหยัดพลังงาน ใช้สารทำปฏิกิริยาแบบเร่งปฏิกิริยาที่มีความเฉพาะเจาะจงสูง ดีกว่าใช้สารทำปฏิกิริยาแบบปริมาณสัมพันธ์




  7. Temperature, pressure ambient คือ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ทุกครั้งที่ต้องใช้พลังงานและควรใช้พลังงานให้น้อยที่สุด โดยวิธีสังเคราะห์ต้องทำที่อุณหภูมิและความดันปกติ

  8. In-process monitoring คือ การพัฒนาวิธีวิเคราะห์อย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้สามารถตรวจวัดค่าแบบเรียลไทม์ในขณะผลิตและสามารถควบคุมได้ก่อนที่จะเกิดเป็นสารเคมีอันตราย

  9. Very few auxiliary substances คือ หลีกเลี่ยงการใช้สารช่วยต่างๆ เช่น ตัวทำละลาย สารช่วยในการแยกและอื่นๆถ้าจำเป็นต้องใช้จะต้องเลือกใช้สารที่ไม่เป็นพิษทุกครั้งที่สามารถทำได้

  10. E-factor, maximize feed in product คือ การออกแบบวิธีสังเคราะห์ให้วัสดุทุกชนิดที่ใช้ใน กระบวนการรวมเข้าไปอยู่ในผลิตภัณฑ์สุดท้ายให้ได้มากที่สุด เพื่อการย่อยสลายให้ได้มากที่สุด

  11. Low toxicity of chemical products คือ การวิเคราะห์แบบเรียลไทม์สำหรับการป้องกันมลพิษ การออกแบบผลิตภัณฑ์เคมีให้มีผลในการใช้งานตามที่ต้องการ ต้องทำให้ความเป็นพิษลดลง

  12. Yes, it is safe คือ การเลือกสารและรูปแบบของสารที่ใช้ในกระบวนการทางเคมีที่ลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุทางเคมีเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ การรั่วไหล การระเบิด และการเกิดเพลิงไหม้




พูดกันง่าย ๆ เคมีสีเขียวที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น คือการจัดการสารเคมีและกระบวนการผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการทางเคมีที่ลดหรือขจัดการใช้หรือการสร้างสารอันตราย การใช้งานครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์เคมี รวมถึงการออกแบบ การผลิต การใช้งาน และการกำจัดทิ้งให้ได้มากที่สุดโดยกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดอย่างยั่งยืนนั่นเอง



สามารถติดต่อพวกเราได้ที่

Tel : 064 296 6593

Line : https://lin.ee/M7mVBAf

Shopee : https://shopee.co.th/eos_scientific

e-Mail :eosscientificsshop.e@gmail.com



ขอบคุณที่มา :

https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7167-green-chemistry

https://studyabroadnations.com/th/12-principles-of-green-chemistry-with-examples/

https://th.eferrit.com/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7/

https://www.scimath.org/article-chemistry/item/11663-2020-06-30-06-22-02



โพสต์เมื่อ :
2566-02-10
 459
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์